หมวดหมู่: บทวิเคราะห์
DBS
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน
 
“สงครามการค้าปะทุอีก ราคาน้ำมันดิ่ง”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : --
ภาวะตลาดและปัจจัย : SET วานนี้ -12.22 จุด ปิดที่ 1699.75 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางลงที่ 54.7 พันล้านบาท ดัชนีฯปรับลงสอดคล้องกับเพื่อนบ้านที่อ่อนลงตามข่าวเฟดไม่ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย การเจรจาการค้าจีน-สหรัฐไม่มีความคืบหน้ามากนัก ผู้ซื้อสุทธิรายเดียวคือ รายย่อย 3.3 พันล้านบาท ขายสุทธิเป็นต่างชาติ 1.7 พันล้านบาทสถาบัน 1.1 พันล้านบาท ขายเล็กน้อยคือโบรกเกอร์ และตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันต่างชาติซื้อสุทธิลดลงเป็น 59 พันล้านบาท ด้านแนวโน้มตลาดและกลยุทธ์วันนี้คือ
# ปัจจัยสำคัญ: ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีจีนอีก 3 แสนล้านดอลลาร์ เริ่ม 1 ก.ย.62 ตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเช้านี้ปรับลงแรง โดยเฉพาะญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน เงินบาทอ่อนระวังเงินไหลออก และดัชนีความกังวลปรับขึ้นไปถึง 17.87 จุด ตลาดหุ้นนิวยอร์คปรับลงแรง อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ 10 ปีลดลงแรงเป็น 1.8793% ราคาน้ำมันดิ่งแรงมาก ปัจจัยที่ดีขึ้น คือตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐออกมาอ่อนคือ ดัชนีภาคการผลิตและการใช้จ่ายภาคการก่อสร้าง ยังผลให้คาดว่าเฟดจะปรับลดดอกเบี้ยเดือนหน้า วันนี้ติดตามจ้างงานนอกภาคการเกษตร
# ระยะสั้นคาด SET มีโอกาสปรับลง จากข่าวลบทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีจีนอีก 3 แสนล้านดอลลาร์ คาดว่าหลักทรัพย์ที่ได้รับผลลบคือ ภาคการส่งออก มีโอกาสมาเล่นงาน Huawei เพิ่ม (HANA และ SYNEX กระทบ) พลังงานลบหลังน้ำมันดิ่งแรง กลยุทธ์ คือ การเก็งกำไร เข้าไว-ออกไว และรอจังหวะอ่อนตัว แนวรับที่ 1690-1680 จุด แนวต้านเป็น 1710-1720 จุด สำหรับการลงทุนทยอยซื้อสะสม เป้าหมายดัชนีระยะยาวเป็น 1750 จุด ด้วย P/E ที่ 17.4 เท่า (Median+1 SD) กลุ่มหลักทรัพย์ที่แนะนำเป็น Domestic Play แต่รออ่อนตัวได้ คือ พาณิชย์- CPALL, BJC รับเหมาก่อสร้าง- CK,STEC,SEAFCO นิคมฯ-AMATA, ROJNA, WHA ท่องเที่ยว- MINT ขนส่งAOT สื่อสาร- ADVANC ไฟแนนซ์- KKP, MTC, TISCO, TCAP และสื่อ- VGI กลุ่มการแพทย์- เน้นหลักทรัพย์ขนาดกลาง คือ CHG และ RJH
# Stock Pick Today : DREIT 2Q62 ขาดทุนเล็กน้อยเป็น -1 ล้านบาท อ่อนลงกว่า y-o-y และ q-o-q มาก เพราะเป็นฤดูกาลที่อ่อนสำหรับธุรกิจโรงแรม มีการปิดปรับปรุง-ตกแต่งที่หัวหิน และเชียงใหม่มีปัญหาฝุ่นละออง แต่ยังจ่ายปันผลและลดทุนรวมเป็น 0.33 บาท สำหรับงวด 1H62 ผลตอบแทน 4.9% XD 7 ส.ค.62 แนวโน้มครึ่งหลังปีนี้สดใสขึ้น เพราะโรงแรมภูเก็ตปรับปรุงแล้วเสร็จ ส่วนเชียงใหม่ปัญหาฝุ่นละอองจบไป อีกทั้งสินทรัพย์ใหม่ที่ซื้อมาจะเริ่มให้ประโยชน์ตั้งแต่ 4Q62 เป็นต้นไป ยังผลให้รักษาเงินปันผลที่สูงไว้ได้ ซื้อ ราคาพื้นฐาน 7.55 บาท
 
การวิเคราะห์ทางเทคนิค : ระยะสั้น สัญญาณ Candlestick & Indicators เป็นลบ {“ปิดลบ”ใต้“SMA10วัน” (โดยถูกกดดันจาก“โครงสร้างขาลง–ระยะกลาง”)} ชี้ความน่าจะเป็นของตลาดฯวันนี้“แกว่งลง”เป็นหลัก แต่เพราะลงแรง,เร็ว (มีแรงหนุน“สภาวะOversold + Divergence” ในกราฟรายนาที) จะช่วยให้มีลุ้นรีบาวด์ฯสั้นๆ(แล้วจึงลงต่ำ,ตามมา)ได้ แนวต้าน (กรณีดีดตัวขึ้นก่อน) 1710 – 1715 จุด {แนวรับย่อย “1690 / 1680”จุด}
สำหรับหุ้นที่มีโอกาสทำ New High เข้ามาใหม่ ไม่มี หุ้นที่ยังอยู่ในลิสต์ คือ BBL,KBANK,CPALL,EKH หุ้นที่หลุดลิสต์ คือ AEONTS,TTCL,VNT ,RJH,CHG หุ้นที่ควร Take Profit คือ ไม่มี Thailand Research Team : reseach-th.dbs.com
 
Inside Story
Key Drivers TODAY : ปัจจัยต่างประเทศ / ปัจจัยในประเทศ
Stock in Focus : AIMIRT (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 14.30)
MINT (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 46.00)
Company Guide : CENTEL (ถือ -ราคาพื้นฐาน 35.00)
Flash Note : AP (ถือ -ราคาพื้นฐาน 7.90)
AOT (ซื้อ -ราคาพื้นฐาน 80.00)
PSH (ถือ -ราคาพื้นฐาน 21.00)
WHART (ถือ -ราคาพื้นฐาน 16.10)
Turnover List Watch : คาดว่ายังไม่มีหลักทรัพย์ติด Cash Balance
 
Key Drivers TODAY
ปัจจัยต่างประเทศ
- สงครามการค้า : ทรัมป์ขู่เก็บภาษีจีนเพิ่ม 3 แสนล้านดอลลาร์
# ปธน.ทรัมป์ทวีตข้อความเมื่อวานนี้ว่า สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 10% คิดเป็นมูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์ โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ย.
# ข้อความบนทวิตเตอร์ของปธน.ทรัมป์ระบุว่า "เจ้าหน้าที่ของเราเพิ่งกลับมาจากจีน หลังจากที่ได้เจรจาอย่างสร้างสรรค์เพื่อทำข้อตกลงการค้าในอนาคต เราคิดว่าเราสามารถทำข้อตกลงการค้ากับจีนได้เมื่อ 3 เดือนก่อน แต่เป็นที่น่าเสียใจที่ว่าจีนได้ตัดสินใจที่จะทำการเจรจาใหม่ ก่อนที่จะมีการลงนาม และเมื่อไม่นานมานี้ จีนตกลงที่จะซื้อสินค้าเกษตรจำนวนมากจากสหรัฐ แต่ก็ไม่ได้ทำเช่นนั้น นอกจากนี้ ท่านประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้พูดว่า เขาจะยุติการจำหน่ายยา Fentanyl ให้แก่สหรัฐ แต่สิ่งนี้ไม่เคยเกิดขึ้น ทำให้ชาวอเมริกันจำนวนมากยังคงล้มตาย"
 
+/• เฟด: อาจลดดอกเบี้ยอีกครั้ง ตัวเลขอุปทานสหรัฐ (ISM) ก.ค.ร่วงลง
# สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ระบุว่า ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐลดลงสู่ระดับ 51.2 ในเดือนก.ค. จากระดับ 51.7 ในเดือนมิ.ย. ขณะที่ไอเอชเอส มาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 50.4 ในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2552 จากระดับ 50.6 ในเดือนมิ.ย.
 
+/• สหรัฐ: การยื่นขอสวัสดิการครั้งแรกเพิ่ม แต่การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างลดลง
# กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 8,000 ราย สู่ระดับ215,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า การใช้จ่ายภาคการก่อสร้างของสหรัฐดิ่งลง 1.3%ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.ปีที่แล้ว
 
• สหรัฐ: ติดตามตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร ประกาศวันนี้
# นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนก.ค.ของสหรัฐซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐมีกำหนดเปิดเผยในวันศุกร์นี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรจะเพิ่มขึ้น 165,000 ตำแหน่ง และคาดว่าอัตราการว่างงานจะลดลงสู่ระดับ 3.6% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 50 ปี
 
- ดาวโจนส์: ปรับลง หลังทรัมป์ประกาศจะเก็บภาษีจีนเพิ่ม
# ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 26,583.42 จุด ร่วงลง 280.85 จุด หรือ -1.05% ขณะดัชนี S&P500 ปิดที่2,953.56 จุด ลดลง 26.82 จุด หรือ -0.90% และดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,111.12 จุด ลดลง 64.30 จุด หรือ -0.79%
# ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 3 แสนล้านดอลลาร์ โดยความวิตกกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าที่ยืดเยื้อระหว่างสหรัฐและจีนได้ฉุดหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมซึ่งเป็นหุ้นที่มีความอ่อนไหวต่อประเด็นการค้าระหว่างประเทศ ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงลงหลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลงเกือบ 8%
 
- น้ำมัน: ดิ่งลงแรง วิตกสงครามการค้า
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย. ร่วงลง 4.63 ดอลลาร์ หรือ 7.9% ปิดที่ 53.95 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค. ดิ่งลง 4.55 ดอลลาร์ หรือ 6.99% ปิดที่ 60.50 ดอลลาร์/บาร์เรล
# สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเกือบ 8% เมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) หลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ ขู่ว่าจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้นอีก 3 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าข้อพิพาทการค้าระหว่างสองประเทศจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมัน นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) ซึ่งระบุว่า การผลิตน้ำมันของสหรัฐเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
• ทองคำ: ปรับลง หลังเฟดอาจจะไม่ปรับลดดอกเบี้ยอีก
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 5.4 ดอลลาร์ หรือ 0.38% ปิดที่1,432.4 ดอลลาร์/ออนซ์
# สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (1 ส.ค.) เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังที่นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ไม่ได้ส่งสัญญาณว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในอนาคต หลังจากที่คณะกรรมการเฟดได้ปรับลดดอกเบี้ยลง 0.25% ในการประชุมเมื่อวันพุธที่ผ่านมา
 
ปัจจัยในประเทศและข่าวหลักทรัพย์
• อัตราเงินเฟ้อ: CPI ก.ค.62 ขยายตัว 0.98% ต่ำกว่าตลาดคาด
# ก.พาณิชย์ เผย CPI เดือน ก.ค. ขยายตัว 0.98% จากตลาดคาดราว 1% ส่วน CORE CPI ก.ค. ขยายตัว 0.41%พาณิชย์ เผย CPI ช่วง 7 เดือน ขยายตัวเฉลี่ย 0.92% และ CORE CPI ช่วง 7 เดือน ขยายตัวเฉลี่ย 0.55% (Aspen)
# ความเห็น: ตอนแรกคาดกันว่า CPI จะออกมาค่อนข้างสูงเล็กน้อย เพราะมีปัญหาภัยแล้ง ราคาสินค้าจะปรับตัวขึ้นบ้างแต่ของจริงต่ำกว่าตลาดคาด การประชุม กนง.วันที่ 7 ส.ค.62 จึงยิ่งน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ส่วนการที่เฟดโดวิชน้อยลง คือ ไม่ส่งสัญญาณการปรับลดดอกเบี้ยต่อไป หรือไม่บ่อยเหมือนที่เคยกล่าวไว้ในครั้งแรกๆ แรงกดดันการลดดอกเบี้ยของ กนง.จึงผ่อนคลายลง
 
• ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนก.ค.62 ทรงตัว m-o-m อยู่ที่ระดับ 49.1
# ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนก.ค.62 อยู่ที่ระดับ 49.1 ทรงตัวใกล้เคียงกับเดือนมิ.ย. โดยความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในภาคการผลิตลดลงในด้านคำสั่งซื้อ การผลิต และการจ้างงานเป็นสำคัญนำโดยกลุ่มผลิตอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงกลุ่มผลิตปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ยางและพลาสติกที่ความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อจากต่างประเทศและปริมาณการผลิตลดลงมากตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และความไม่แน่นอนของภาวะสงครามการค้า
 
-งบประมาณรายจ่ายปี 63 ปรับประมาณการรายได้สุทธิลง
# รัฐบาลยังคงกรอบงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2563 ที่ 3.2 ล้านล้านบาท แต่ได้ปรับประมาณการรายได้สุทธิเหลือ 2.731 ล้านล้านบาท จากเดิมที่ 2.75 ล้านล้านบาท ขณะที่งบประมาณขาดดุลเพิ่มเป็น 4.69 แสนล้านบาท จากเดิมที่กำหนดขาดดุลไว้ 4.5 แสนล้านบาท เพื่อเสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ 2563 เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรต่อไป โดยคาดว่าจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ในราวเดือน ม.ค.63
นักวิเคราะห์&กลยุทธ์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!