หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov สุริยะ3


รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อนตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          สงป. รายงานว่า

          1. เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศในราชกิจจาบุเบกษา เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 สงป. จึงได้ดำเนินการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2567 สรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

งบประมาณรายจ่าย .. 2566 ไปพลางก่อน

จำแนก

รายจ่าย

แผนการใช้จ่ายฯ

จัดสรร

ผลการเบิกจ่าย1

ผลการใช้จ่าย2 (ก่อหนี้)

จำนวน

ร้อยละ3

จำนวน

ร้อยละ4

จำนวน

ร้อยละ5

จำนวน

ร้อยละ6

ภาพรวม

1,878,556.52

58.98

1,837,718.05

97.83

1,611,838.64

85.80

1,647,803.15

87.72

รายจ่ายประจำ

1,693,116.33

67.19

1,681,551.09

99.32

1,512,669.51

89.34

1,524,823.12

90.06

รายจ่ายลงทุน

185,440.19

27.89

156,166.96

84.21

99,169.13

53.48

122,980.03

66.32

 

          2. สำหรับผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายและผลการปฏิบัติงานของหน่วยรับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน จำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ 6 ยุทธศาสตร์และ 1 รายการ สรุปได้ ดังนี้

 

2.1 ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

จำนวน (ล้านบาท)

ร้อยละ

จัดสรร

174,123.04

-

ผลการเบิกจ่าย

113,944.30

65.44

ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)

127,430.18

73.18

ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน

(1) ด้านความพร้อมของกองทัพ กองทัพมีความพร้อมในการเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จากการมีนโยบาย มาตรการและแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคง

(2) ด้านการแก้ไขปัญหาภาคใต้ มีการจัดประชุมหารือกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้กรอบกลไกทวิภาคี การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม จำนวน 30 ชุมชน และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 4,559 ราย

(3) ด้านการค้ามนุษย์ มีการช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหาย จำนวน 148 ราย มีการออกหนังสือคนประจำเรือสำหรับต่างด้าวให้แก่แรงงานประมงเพื่อป้องกันปัญหาประมงผิดกฎหมาย จำนวน 28,835 ราย

(4) ด้านการต่างประเทศ มีการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในการเสริมสร้างความมั่นคงที่ครอบคลุม (Comprehensive Security) ในกรอบอาเซียน

 

2.2 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

จำนวน (ล้านบาท)

ร้อยละ

จัดสรร

164,641.20

-

ผลการเบิกจ่าย

132,554.66

80.51

ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)

143,276.11

87.02

ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน

จากการประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยภาครัฐได้มีการดำเนินมาตรการ ต่างๆ เช่น การจัดทำแผนผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ นโยบายสนับสนุนศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง การผลักดันการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศเพื่อแสวงหาตลาดใหม่ และกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศโดยประสบผลสำเร็จ เช่น (1) มูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ จำนวน 7,612.74 ล้านบาท (2) มูลค่าการเจรจาการค้า จำนวน 38,077 ล้านบาท (3) มูลค่าการค้าของผู้ประกอบการฐานราก จำนวน 2,569.28 ล้านบาท (4) มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนมูลค่าไม่น้อยกว่า 400,466 ล้านบาท เป็นต้น อีกทั้งภาครัฐได้มีการดำเนินนโยบายลดค่าครองชีพของประชาชน โดยการจัดหาสินค้าราคาประหยัดเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน จำนวน 888 ครั้ง สามารถลดรายจ่ายในการซื้อสินค้าเป้าหมายที่จำเป็น ร้อยละ 30

 

2.3 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์

จำนวน (ล้านบาท)

ร้อยละ

จัดสรร

322,105.05

-

ผลการเบิกจ่าย

288,627.72

89.61

ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)

291,393.40

90.47

ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน

(1) มีผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้สำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 จำนวน 4,699,216 คน

(2) ครูและบุคลากรทางการศึกษาร้อยละ 110.81 ได้รับการส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิชาชีพและสวัสดิการ

(3) นักเรียนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 144.37 ได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่ (ดิจิทัล/ภาษาอังกฤษ) ตลอดจนมีการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการสมวัย

(4) ผู้สูงอายุ จำนวน 5,559 คน ได้รับการพัฒนาทักษะ ส่งเสริมการมีงานทำ และได้รับสวัสดิการด้านแรงงาน จำนวน 3,532 คน

(5) แรงงาน จำนวน 566,396 คน ได้รับความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

(6) บุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ จำนวน 150 คน ได้รับการฝึกอบรมและเข้ารับการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ

(7) มีการพัฒนาโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้มีคุณภาพมาตรฐานผ่านการรับรอง HA ขั้น 3 ร้อยละ 97.64

 

2.4 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

จำนวน (ล้านบาท)

ร้อยละ

จัดสรร

502,800.28

-

ผลการเบิกจ่าย

466,773.41

92.83

ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)

467,509.13

92.98

ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน

(1) การกระจายการถือครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร โดยมีเกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน จำนวน 16,003 ราย

(2) ครัวเรือนผู้มีรายได้น้อยในเมืองและชนบทมีที่อยู่อาศัยและสิทธิในที่ดินเป็นของตนเองเพิ่มขึ้น จำนวน 18,186 ครัวเรือน รวมถึงการพิสูจน์สิทธิของประชาชนที่มีปัญหาข้อพิพาทในเขตที่ดินของรัฐได้รับการแก้ไขปัญหาจนเป็นที่ยุติ จำนวน 581 แปลง

(3) จำนวนเรื่องร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในปีปัจจุบันได้รับการดำเนินการจนได้ข้อยุติ ร้อยละ 34.04

(4) จำนวนแรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคม จำนวน 24,633,584 คน

(5) กลุ่มด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบางได้รับการคุ้มครองทางสังคม เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จำนวน 2,887,281 คน

(6) ผู้พิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิทธิ สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการสาธารณะที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต จำนวน 187,417 คน

 

2.5 ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

จำนวน (ล้านบาท)

ร้อยละ

จัดสรร

39,055.75

-

ผลการเบิกจ่าย

27,184.24

69.60

ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)

31,866.54

81.59

ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน

(1) ดูแลรักษาพื้นที่ป่าให้เป็นป่าธรรมชาติ จำนวน 98.36 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของพื้นที่ประเทศ

(2) มีเป้าหมายพัฒนาศักยภาพพื้นที่ทางธรรมชาติให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จำนวน 9 แห่ง

(3) ยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการขยะมูลฝอย และของเสียอันตราย รวมถึง จัดการคุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

(4) จัดการแก้ไขปัญหาขยะทะเล จำนวน 102.62 ตัน

(5) ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรรวมทั้งสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 16,500 ราย ส่งผลให้ลดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ไม่น้อยกว่าจำนวน 15,072 ไร่ ครัวเรือนเกษตรได้รับประโยชน์จากการลดการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม จำนวน 1,507 ครัวเรือน

(6) มีเป้าหมายในการอนุรักษ์ฟื้นฟู เพิ่มประสิทธิภาพแหล่งน้ำบาดาล จำนวน 323 แห่ง ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรได้อย่างต่อเนื่องจำนวน 34,584 ครัวเรือน รวมทั้งการปฏิบัติการฝนหลวงทำให้มีปริมาณน้ำฝนในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ จำนวน 120.51 ล้านลูกบาศก์เมตร

 

2.6 ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

จำนวน (ล้านบาท)

ร้อยละ

จัดสรร

431,526.55

-

ผลการเบิกจ่าย

405,624.27

94.00

ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)

409,009.60

94.78

ตัวอย่างผลการปฏิบัติงาน

(1) หน่วยงานภาครัฐมีการเชื่อมโยง โดยผ่านเครือข่ายสื่อสารภาครัฐ จำนวน 2,169 หน่วยงานและมีการเชื่อมโยงหน่วยงาน/ระบบสำคัญด้วย DG Links จำนวน 301 หน่วยงาน

(2) มีระบบงานสำคัญที่ติดตั้งอยู่บน DGA Cloud เพื่อให้บริการแก่หน่วยงานภาครัฐหรือภาคประชาชน จำนวน 3 ระบบ และมีการพัฒนา/ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานและการให้บริการให้เป็นดิจิทัล จำนวน 19 ระบบ

(3) นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการให้บริการประชาชน อาทิ ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการปัญหาออนไลน์

(4) มีการปรับปรุง/ทบทวน กฎหมาย กฎ ระเบียบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับความรู้ความเข้าใจในกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม หลักการสิทธิมนุษยชน และสามารถปกป้องคุ้มครองสิทธิของตัวเองโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

 

2.7 รายการค่าดำเนินการภาครัฐ

จำนวน (ล้านบาท)

ร้อยละ

จัดสรร

203,466.18

-

ผลการเบิกจ่าย

177,130.04

87.06

ผลการใช้จ่าย (ก่อหนี้)

177,318.19

87.15

 

          อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากรายงานผลการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน พบว่า ผลการปฏิบัติงานและใช้จ่ายงบประมาณต่ำกว่าแผนฯ ที่กำหนดไว้ โดย สงป. ได้รวบรวมปัญหาและอุปสรรคจากการใช้จ่ายงบประมาณและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการบริหารงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ดังนี้

 

ปัญหาและอุปสรรค

(1) หน่วยรับงบประมาณบางหน่วยมีการใช้จ่ายงบประมาณจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีก่อนเป็นลำดับแรกและดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2566 ไปพลางก่อน เป็นลำดับถัดมา ส่งผลให้การใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2566 ไปพลางก่อน ต่ำกว่าแผนที่กำหนด

(2) หน่วยรับงบประมาณมีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณหรือลงนามในสัญญาแล้ว แต่ยังไม่สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ เนื่องจากผู้รับจ้างรอเบิกจ่ายวงเงินทั้งสัญญาในคราวเดียวหลังดำเนินการแล้วเสร็จ หรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบงานได้ตามงวดงาน เนื่องจากมีการปรับกลุ่มเป้าหมายให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาลและขาดการบูรณาการของหน่วยงานภายใต้แผนงานบูรณาการ รวมถึงขาดความพร้อมด้านบุคลากร เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่งผลให้การดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณในภาพรวมไม่บรรลุเป้าหมายตามแผนที่กำหนด

(3) สำหรับรายจ่ายลงทุนที่หน่วยรับงบประมาณดำเนินการล่าช้ายังไม่เข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง พบว่าบางหน่วยอยู่ระหว่างสำรวจออกแบบ กำหนดราคากลาง จัดทำขอบเขตของงาน (TOR) และปรับแบบรูปรายการให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริง หรือมีการประกาศประกวดราคาแล้ว แต่ไม่มีผู้ยื่นเสนอราคา บางรายการมีผู้ยื่นเสนอราคาเพียงรายเดียว หรือมีผู้ยื่นเสนอราคาแต่ไม่ตรงตามคุณลักษณะที่กำหนด จึงต้องเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ รวมถึงราคาพัสดุ/ครุภัณฑ์ วัสดุก่อสร้างและค่าแรงปรับราคาสูงขึ้น ทำให้ต้องมีการปรับคุณลักษณะ/แบบรูปรายการ ส่งผลให้การดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

ข้อเสนอแนะ

(1) เนื่องจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2567 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 จึงเห็นควรให้หน่วยรับงบประมาณเร่งรัดดำเนินการตามมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2567 ของ สงป. และมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐประจำปีงบประมาณ .. 2567 ของคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ โดยเร่งรัดการก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายงบประมาณรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่เป็นรายจ่ายลงทุนรายการใหม่ ให้หน่วยรับงบประมาณจัดส่งรายละเอียดประกอบที่เกี่ยวข้องให้ สงป. พิจารณาความเหมาะสมของราคาควบคู่ไปกับการดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และเมื่อได้ผลการจัดซื้อจัดจ้างแล้วหากไม่เกินวงเงินที่ สงป. ให้ความเห็นชอบ ให้แจ้ง สงป. ทราบและดำเนินการทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันต่อไปได้ รวมทั้งพิจารณากำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานให้รวดเร็วขึ้นเพื่อให้ทันการเบิกจ่ายภายในเดือนกันยายน 2567 ทั้งนี้ หากคาดว่ามีรายการงบประมาณที่จะไม่สามารถก่อหนี้ได้ทันภายในปีงบประมาณ .. 2567 ให้หน่วยรับงบประมาณแจ้ง สงป. เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขเป็นรายกรณีในโอกาสแรก เพื่อให้การบริหารงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด และป้องกันมิให้เงินพับตกไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณ

(2) เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ .. 2567 จึงเห็นสมควรมอบหมายให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีที่ควบคุม กำกับ และดูแลหน่วยรับงบประมาณ หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย กำกับดูแล รวมถึงติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

 

________________

1 วงเงินงบประมาณที่จ่ายไปแล้ว

2 วงเงินงบประมาณที่จ่ายไปแล้ว รวมกับใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (Purchase Order: PO) (ใบจองเงินเพื่อกันไว้เบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการ)

3 ร้อยละ/วงเงินงบประมาณในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

4 ร้อยละ/แผนการใช้จ่ายฯ

5 ร้อยละ/วงเงินงบประมาณที่จัดสรร

6 ร้อยละ/วงเงินงบประมาณที่จัดสรร

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รองนายกรัฐมนตรี) 18 มิถุนายน 2567

 

 

6570

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!